รู้เรื่องจราจร

ฟัง The Ghost Radio เป็นเพื่อนเดินทางไกลในช่วงสงกรานต์นี้

ฟัง The Ghost Radio เป็นเพื่อนเดินทางไกลในช่วงสงกรานต์นี้

ช่วงสงกรานต์เป็นช่วงที่หลาย ๆ คนวางแผนไปท่องเที่ยว หรือกลับบ้านต่างจังหวัด เชื่อว่าหลายคนต้องขับรถหรือเดินทางไกล แต่รู้ไหมว่าช่วงสงกรานต์ เป็นเป็นช่วงที่อุบัติเหตุเกิดขึ้นมากที่สุดของปี และถ้าหลายคนกำลังมองหาอะไรสักอย่างมาช่วยให้การเดินทางไม่น่าเบื่อ พี่เชฟชวนเปิด The Ghost Radio ฟังเรื่องเล่าสยองขวัญ ที่อาจทำให้คุณขับรถแบบมีสติ และตระหนักถึงความปลอดภัยมากขึ้น

ดื่มแล้วขับ 1 ใน 3 สาเหตุหลักของอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์

ดื่มแล้วขับ 1 ใน 3 สาเหตุหลักของอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์

สถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ในช่วง 7 วันอันตราย หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระหว่างปี 2563-2566 พบว่า มีอัตราการตายจากอุบัติเหตุทางถนนลดลง แต่มีแนวโน้มเกิดอุบัติเหตุเพิ่มสูงขึ้น โดยค่าเฉลี่ยของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลดังกล่าวอยู่ที่ 246.5 คน/ปี หรือประมาณ 35 คนต่อวันตลอดช่วง 7 วันอันตราย ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมาจากพฤติกรรมของผู้ขับขี่ใน 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ ขับรถเร็ว เมาแล้วขับ และตัดหน้ากระชั้นชิด นำมาสู่การสูญเสียของหลายครอบครัว ในห้วงเวลาแห่งความสุขของปีใหม่ไทย1

ชุ่มฉ่ำอย่างปลอดภัย เมื่อขี่มอเตอร์ไซค์ในวันสงกรานต์

ชุ่มฉ่ำอย่างปลอดภัย เมื่อขี่มอเตอร์ไซค์ในวันสงกรานต์

เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาที่หลายคนรอคอย เพราะเป็นโอกาสดีในการสาดน้ำ เล่นสนุก และเดินทางกลับบ้านเพื่อพบครอบครัว แต่สำหรับคนที่ขี่มอเตอร์ไซค์ การเดินทางช่วงนี้อาจต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะถนนที่เปียกลื่น แป้งที่ลอยในอากาศ และการสาดน้ำที่คาดเดาไม่ได้ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้ วันนี้เรามี 5 เทคนิคเตรียมความพร้อม ให้คุณขี่มอเตอร์ไซค์อย่างปลอดภัยในช่วงสงกรานต์นี้!

#ความปลอดภัยต้องมาก่อน

ขับขี่ศึกษา (Safe Education) ช่องทางสื่อสารกับวัยรุ่นเรื่องการขับขี่ที่ปลอดภัย และมีชุดความรู้ให้แก่ครูเพื่อส่งต่อความรู้ ความเข้าใจ และทำกิจกรรมร่วมกับนักเรียนในโรงเรียนได้

จะเลือกตัดสินใจอย่างไร กับ “8 สถานการณ์”

แบบฝึกหัด “จะเลือกตัดสินใจอย่างไร กับ 8 สถานการณ์”

หลังเลิกเรียน ครูอาจพบว่า นักเรียนที่รักมีพฤติกรรมการขับขี่ที่เสี่ยงอันตราย หรือตกอยู่ในสถานการณ์หวาดเสียวบนถนน เช่น ขี่มอเตอร์ไซค์ซ้อน 3, ไม่สวมหมวกกันน็อก, ขับขี่รถฝ่าไฟแดง, รถบรรทุกขับผ่านหน้าโรงเรียนจำนวนมาก, ขับขี่ย้อนศร เมื่อเห็นแบบนี้แล้ว อยากช่วยป้องกันเหตุร้าย ป้องกันภัยไม่ให้เกิดขึ้นกับนักเรียน ครูเองจะจัดการเรียนการสอนอย่างไร

รู้หรือไม่???? “เครื่องหมายจราจร” ⚠️ ⛔ 🚫 ที่เราเห็นข้างทางมีความหมายอย่างไรบ้าง . 🐯 พี่เซฟ…ชวนคุณครูเปิดคาบห้องเรียน ชวนนักเรียนมาทำความรู้จักกับ “เครื่องหมายจราจร” ผ่านแบบฝึกหัด 📃 เพื่อติดตั้งชุดความรู้เข้าใจความหมายสู่การขับขี่ปลอดภัยของพวกเค้า . 📥 ดาวน์โหลดแบบฝึกหัดฟรี! พร้อมแนวทางจัดกิจกรรมเรียนรู้ 🔎 สแกน QR Code หรือกดที่ลิงก์นี้ได้เลย https://forms.gle/1PUQdkdGMpEvoJof8 💚 อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://safeeducationthai.com/exercise-interesting-traffic-signs/ . #ขับขี่ศึกษา #ความปลอดภัยต้องมาก่อน #แชร์ความเซฟลดความเสี่ยง #ลดเสี่ยงลดเจ็บ #แบบฝึกหัดการเรียนรู้ #เครื่องมือการเรียนการสอน #ครู #safeeducationthai #roadsafety #roadsafetyliteracy #สสส #เครื่องหมายจราจร #ป้ายจราจร #สัญลักษณ์จราจร

แบบฝึกหัด “เครื่องหมายจราจรน่ารู้”

“เครื่องหมายจราจร” สื่อกลางสำคัญช่วยให้ผู้ใช้รถปฏิบัติตามกฎจราจรได้อย่างถูกต้อง และช่วยลดอุบัติเหตุทางถนนที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวเราหรือบุคคลอันเป็นที่รักได้ ดังนั้นการขับขี่ให้ปลอดภัย ไม่เพียงความสามารถในการดูถนนหนทาง คาดการณ์ความเสี่ยงให้ดีแล้ว เราควรสังเกตเครื่องหมายจราจรข้างทางหรือบนพื้นถนน และปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องได้อีกด้วย

แบบฝึกหัดนักเรียน “ภารกิจหมวกกันน็อก”

แบบฝึกหัดนักเรียน “ภารกิจหมวกกันน็อก”

จากข้อมูลระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ (Injury Surveillance) ปี 2562-2566 พบว่า เยาวชนอายุ 15-19 เป็นกลุ่มที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตสูงสุดจากอุบัติเหตุทางถนนด้วยการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ โดยส่วนของร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บเกิดขึ้นในบริเวณ ผิวหนัง, ศีรษะและลำคอ, แขน ขา มือ เท้า และกระดูกเชิงกราน, ใบหน้า, ทรวงอก, ช่องท้องและช่องเชิงกรานตามลำดับ หากอวัยวะ 3 ส่วนได้รับบาดเจ็บรุนแรงอาจจะส่งผลให้เสียชีวิตได้ ได้แก่ ศีรษะและคอ, ทรวงอก, ช่องทางและช่องเชิงกราน ส่วนอัตราการบาดเจ็บที่บริเวณศีรษะเฉลี่ย 5 ปี สูงถึง 40.08% ในขณะที่มีอัตราการสวมหมวกกันน็อกในผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์เพียง 16.67% เท่านั้น

safe education thai classrooms year 2

เปิดรับสมัครแล้ว! ห้องเรียนขับขี่ศึกษา: ภารกิจเรียนรู้ปูทางถนนปลอดภัย ปี 2

กิจกรรมเรียนรู้ Online Learning สำหรับ ครู อาจารย์ สถาบันการศึกษา องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หวังให้เกิดการเรียนรู้ พร้อมนำเครื่องมือไปใช้สื่อสารขยายผล ในกลุ่มเด็กและเยาวชน ให้ตระหนักรู้ มีแนวทางป้องกัน ช่วยลดอัตราการสูญเสียทรัพยากรบุคคลสำคัญในอนาคตได้ต่อไป

สนับสนุนโดย

สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสังคม 
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)