ถนนยังคงเป็นหนึ่งใน “ฆาตกรเงียบ” ที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกถึง 1.19 ล้านคนต่อปี และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเด็กและเยาวชนอายุ 5–29 ปีในประเทศไทย แม้จะมีการออกมาตรการมากมาย แต่อัตราการเสียชีวิตยังคงสูงอยู่ รายงานสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนโลก (Global Status Report on Road Safety 2023) พบว่าในปี 2566 มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย จำนวน 18,218 คน หรือเฉลี่ยวันละ 50 ราย ซึ่งติดเป็นอันดับที่ 18 ของโลก โดยประเทศไทยเองมีเป้าหมายเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุให้ได้ครึ่งหนึ่งภายในปี 2030 ซึ่งมีความท้าทายเป็นอย่างมาก เพราะความปลอดภัยทางถนน ไม่ใช่แค่การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน แต่ต้องโฟกัสไปที่ “พฤติกรรม” ผู้ใช้ถนน
วันนี้พี่เซฟ ขอชวนทุกคนมารู้จักกับ “แนวคิด BBS : Behavior Based Safety การกำจัดความเสี่ยงเพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยอย่างยั่งยืน” ซึ่งเป็นแนวคิดในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงในเชิงบวก โดยการแก้ไขพฤติกรรมเสี่ยงตามแนวคิด BBS จะต้องเกิดจากการที่ผู้ขับขี่ตระหนักรู้ด้วยตัวเอง จึงจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงได้อย่างถาวร
การบังคับเชิงบวกจะเกิดขึ้นได้ เน้นการแก้ไขพฤติกรรมของคนที่เป็นฐานของการเกิดอุบัติเหตุทางถนน พฤติกรรมความเสี่ยงที่ทำเป็นประจำ และสามารถแก้ไขพฤติกรรมนั้นได้ด้วยตัวเอง เริ่มจากการได้รับข้อมูลความรู้ ที่ทำให้้เกิดทัศนคติหรือมุมมองต่อเรื่องนั้น ๆ เปลี่ยนไป พร้อมกับเมื่อคนในสังคมปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย ท้ายที่สุดจะกลายเป็นวัฒนธรรม ฉะนั้นแล้วหัวใจสำคัญของ BBS คือ “การสื่อสารที่สะท้อนถึงความห่วงใย” ชี้ให้เห็นทั้งข้อดีและข้อเสีย เพื่อกระตุกความคิดให้ผู้ขับขี่เกิดความตระหนักถึงความปลอดภัยได้ด้วยตัวเอง
การประยุกต์ใช้ BBS: “3 ปรับ” สู่ถนนปลอดภัย
1.ปรับมุมมอง
– มอง “เบื้องหลัง” ก่อนตัดสิน เมื่อพบคนใช้ถนนเสี่ยง อย่ารีบตำหนิ
– ใช้กรอบคิดเชิงบวก หรือ เพราะรีบจึงขับขี่เร็วเป็นเรื่องของเวลา ที่ไม่ใส่หมวกกันน็อกเพราะไม่สะดวกเก็บเป็นเรื่องการใช้งาน2.ปรับใจ
– จาก “จับผิด” เป็น “ช่วยเหลือแบ่งปัน” มุ่งช่วยเหลือ มากกว่าสั่งห้าม
– สร้างเป้าหมายร่วมด้วยความเป็นทีม ชี้ให้เห็นความปลอดภัยจากการขับขี่พาองค์กรปลอดภัยจากอุบัติเหตุทางถนน3.ปรับการสื่อสาร
– ใช้ภาษาเชิงบวก แสดงความห่วงใย “อยากให้ถึงบ้านปลอดภัย” แทน “ห้ามขับเร็วนะ!”
– พูดคุยถามไถ่เพื่อแลกเปลี่ยนพัฒนา เช่น มอนิ่งทอล์ค
เพราะหัวใจของ BBS คือ “การสื่อสารที่สะท้อนถึงความห่วงใย”
กรณีศึกษา: BBS ในถนนไทย
- กลุ่มแอปประกันภัยเมืองไทย นำระบบ UBI มาใช้ ปีแรกลดอัตราเบรกกระชั้นชิดได้ 18% และลดพฤติกรรมขึ้น-ลงเลนอย่างอันตราย 22%
- โครงการวิจัย สวทช. ร่วมกับฟลีทรถขนส่ง ทดลองใช้ BBS Coaching บนแอปมือถือ พบอัตราอุบัติเหตุลดลงจาก 5% เหลือ 1.1% ภายใน 9 เดือน
- รายงาน TDRI ประเมินผลกระทบเศรษฐกิจ พบว่า หากลดอัตราเสียชีวิตลง 10% ผ่านมาตรการ BBS จะประหยัดงบประมาณสูญเสียทางเศรษฐกิจถึง 50,000 ล้านบาทต่อปี
นอกจากนี้ พี่เซฟจะชวนทุกคนมา Zoom In ดูคุณสมบัติของหมวกกันน็อกที่ได้รับมาตรฐาน มอก. กัน นั่นก็คือ หมวกกันน็อกที่ดี ควรมีตราสัญลักษณ์ มอก. และมี QR Code ให้สแกนดูข้อมูลสินค้าและผู้ผลิตได้แบบโปร่งใส อย่าลืมว่าก่อนซื้อ ต้องเช็กคุณสมบัติเหล่านี้ให้ครบกันด้วยนะครับ
- ขนาดพอดีศีรษะ – ใส่แล้วแน่นพอดี ไม่โยกไปมา
- รูระบายอากาศ – ไม่อึดอัด ลมผ่านได้ดี
- มีช่องฟังเสียง – ได้ยินเสียงรอบตัวชัดเจน
- แผ่นบังลมโปร่งแสง – มองเห็นทางชัด ปลอดภัยกว่า
- สายรัดคาง – ต้องคาดและล็อกให้กระชับทุกครั้ง!
พี่เซฟมองว่าเป้าหมายสำคัญของ BBS คือ การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในการเดินทางไปสู่เป้าหมายจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารอย่างมุ่งมั่น สม่ำเสมอ และต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ขับรถยนต์ ผู้ขี่รถจักรยานยนต์ รวมถึงผู้โดยสารร่วม ทั้งการคาดเข็มขัดนิรภัย การสวมหมวกกันน็อก การไม่ใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ การเว้นระยะห่างในการขับขี่บนถนน ทำจนเป็นนิสัยปฏิบัติ จนกลายเป็นวัฒนธรรมการขับขี่ปลอดภัยในที่สุด
หากใครสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ การส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยด้วยทักษะการบังคับเชิงบวก (Behavior based safety หรือ BBS) โดยศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย
เราทุกคนต่างก็เป็นฮีโร่ในใจของใครหลายคน ไม่ว่าจะคนที่บ้าน คนที่ทำงาน อยากให้ใคร่ครวญอยู่เสมอว่า “ทุกการเดินทางขับขี่ปลอดภัยคือการสร้างความอุ่นใจ” การกลับถึงบ้าน หรือเดินทางถึงเป้าหมายอย่างปลอดภัย จึงเป็นของขวัญในใจเสมอ ร่วมสร้างวัฒนธรรมขับขี่ปลอดภัยไปด้วยกันนะครับ ^_^
ที่มา:
– 5 km. Project ชุดความรู้การจัดการพฤติกรรมเสี่ยงจากการไม่สวมหมวกนิรภัยในระยะใกล้บ้าน https://www.roadsafetythai.org/edoc/doc_20241111162143.pdf
– World Health Organization, www.who.int/publications/i/item/9789240086517