กฎหมายหมวกกันน็อกที่ทุกคนควรรู้

กฎหมายหมวกกันน็อกที่ทุกคนควรรู้
3,830

เรื่อง “หมวกกันน็อก” ไม่ใช่แค่เรื่องของความปลอดภัยส่วนตัว แต่ยังเป็นกฎหมายที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม เพื่อช่วยป้องกันการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตบนท้องถนน

มาเปิดคาบเรียนศึกษาวิชาหลักกันครับทุกคน…………….
พี่เซฟชวนรู้ข้อมูล กฎหมายสำคัญเกี่ยวกับการสวม “หมวกกันน็อก” จาก พระราชบัญญัติจราจรทางถนน พ.ศ. 2522 มาให้อ่านง่าย ๆ แบบเข้าใจได้ในไม่กี่นาที!

กฎหมายหมวกกันน็อกที่ทุกคนควรรู้

1. ใครบ้าง? ที่ต้องสวมหมวกกันน็อก

ตามมาตรา 122 แห่ง พระราชบัญญัติจราจรทางถนน พ.ศ. 2522 กำหนดไว้ว่า:

• ขณะขับขี่ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และผู้โดยสารรถจักรยานยนต์ทุกคนต้องสวมหมวกกันน็อกขณะอยู่บนรถเสมอ ไม่เว้นแม้แต่ระยะทางใกล้ ๆ
• กรณีไม่สวม“หมวกกันน็อก” ขณะขับขี่หรือโดยสาร มีกรณีเดียวเท่านั้น คือ ยกเว้นสำหรับ ภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช หรือผู้นับถือลัทธิศาสนาอื่นที่ใช้ผ้าหรือสิ่งอื่นโพกศีรษะตามประเพณีนิยม เท่านั้น
• กฎหมายข้อนี้บังคับใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2522 (พรบ จราจร ฉบับที่ 1) เป็นต้นมา

2. เด็กเล็กต้องสวมหมวกไหม?

ตามกฎหมายกำหนดนั้น ผู้โดยสารทุกคนบนจักรยานยนต์ รวมถึงเด็กเล็ก ต้องสวม“หมวกกันน็อก” ซึ่งผู้ปกครองควรต้องจัดหา“หมวกกันน็อก”ที่เหมาะสมกับขนาดศีรษะของเด็ก เพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง หรือกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ

กฎหมายหมวกกันน็อกที่ทุกคนควรรู้

3. หมวกกันน็อกแบบไหน? ที่ถูกต้อง

“หมวกกันน็อก” ที่ใช้ต้องเป็นไปตามกฎหมายกำหนดมาตรฐาน 3 ข้อ ดังนี้

• ต้องมีสายรัดคางที่แน่นหนาและปลอดภัย
• ผลิตจากวัสดุที่ทนแรงกระแทก
• มีการรับรองมาตรฐาน มอก. (มาตรฐานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย)

การใช้หมวกกันน็อกที่ไม่ได้มาตรฐาน เป็นแบบพลาสติกบาง ๆ หรือไม่มีสายรัด ถือเป็นความผิดเช่นกัน

4. สิ่งที่มักเข้าใจผิด

• สวมหมวกกันน็อกแค่บางครั้ง
หลายคนคิดว่าเส้นทางใกล้ ๆ หรือขับขี่ในซอยเล็ก ๆ ไม่ใส่ “หมวกกันน็อก” ก็ไม่เป็นไร แต่ความจริงแล้วถือว่าผิดกฎหมายนะครับ ฉะนั้นไม่ใช่แค่กฎหมายกำหนดแต่เป็นเรื่องความปลอดภัยด้วย เพราะจากสถิติอุบัติเหตุส่วนใหญ่ของจักรยานยนต์มักเกิดขึ้นในซอยเล็กนี่ละครับ

• ใส่หมวกกันน็อกที่ไม่มีสายรัดคาง
การใส่หมวกโดยไม่มีสายรัดคางถือว่าผิดนะครับ เพราะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายกำหนด

กฎหมายหมวกกันน็อกที่ทุกคนควรรู้

5. ทำไมการสวมหมวกกันน็อกถึงสำคัญ?

ความเสี่ยงและความรุนแรงของการไม่สวม “หมวกกันน็อก” โดย โครงการห่วงใครให้ใส่หมวก และ สสส. พบว่า การสวม “หมวกกันน็อก” ช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้ถึง 39% และลดความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะได้ถึง 72%

6. ถ้า…ไม่สวมหมวกกันน็อก

ผู้ขับขี่และผู้โดยสารที่ไม่สวม “หมวกกันน็อก” มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท จากเดิมที่ปรับไม่เกิน 500 บาท

นอกจากนี้อาจเสียคะแนนสะสมในระบบใบขับขี่ด้วย อ้างอิงตามมาตรา 19 พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่13) พ.ศ. 2565

รู้แบบนี้แล้ว!! การสวม “หมวกกันน็อก” ทุกครั้งก่อนขับขี่และซ้อนท้ายจักรยานยนต์เสมอ ถือเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายกำหนด และก็เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเองและคนซ้อนที่เรารัก ร่วมสร้างวัฒนธรรมจราจรที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน! ช่วยกันเซฟเพื่อลดความเสี่ยงกันนะครับ!

ที่มา:

– สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  https://www.royalthaipolice.go.th/downloads/laws/laws_03.pdf   
– “หมวกนิรภัย” ใส่ก่อนบิด ข้อเท็จริง / เรื่องควรรู้, ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)
https://www.roadsafetythai.org/edoc/doc_20181120163304.pdf?utm_source=chatgpt.com – ไม่สวมหมวกนิรภัยมีโทษปรับ, สวทช. https://bit.ly/4geQS5u
– หมวกกันน็อกล็อกชีวิตห่วงใครให้ใส่หมวก, โครงการห่วงใครให้สวมหมวก และ สสส. https://bit.ly/3ZT0Off 

สนับสนุนโดย

บริหารจัดการโดย

© Copyright 2022 Safe Education Thailand. All rights reserved.