“หมวกกันน็อก” อุปกรณ์ลดการบาดเจ็บที่หลายคนละเลย

“หมวกกันน็อก” อุปกรณ์ลดการบาดเจ็บที่หลายคนละเลย
1,197

แม้ว่ามอเตอร์ไซค์จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูงที่สุดในบรรดายานพาหนะบนท้องถนน และ “หมวกกันน็อก” จะเป็นอุปกรณ์ป้องกัน หรือลดการบาดเจ็บขั้นรุนแรงที่สำคัญของผู้ขับขี่และผู้โดยสารก็ตาม แต่คนส่วนใหญ่ยังคงละเลยการสวม“หมวกกันน็อก”

โดยข้อมูลจากมูลนิธิไทยโรดส์ และสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ของเครือข่ายเฝ้าระวังสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน (Road Safety Watch) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่า อัตราการสวม
“หมวกกันน็อก” ปี 2566 ในภาพรวมทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสารมีเพียงร้อยละ 43 โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ขับขี่ร้อยละ 48 ส่วนผู้โดยสารมีจำนวนร้อยละ 21 แต่สัดส่วนของผู้สวม “หมวกกันน็อก” ในกลุ่มเด็ก เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8 (ปี 2562) เป็น ร้อยละ 16 (ในขณะที่กลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี เป็นกลุ่มที่เกิดอุบัติเหตุจากมอเตอร์ไซค์มากที่สุด และส่วนใหญ่ไม่สวมหมวกนิรภัย)

“หมวกกันน็อก” อุปกรณ์ลดการบาดเจ็บที่หลายคนละเลย
“หมวกกันน็อก” อุปกรณ์ลดการบาดเจ็บที่หลายคนละเลย
“หมวกกันน็อก” อุปกรณ์ลดการบาดเจ็บที่หลายคนละเลย

พี่เซฟชวนดู 10 เหตุผลที่คนไม่สวมหมวกกันน็อก ซึ่งอ้างอิงข้อมูลจาก “คู่มือส่งเสริมการใช้หมวกกันน็อกในองค์กร”
โดย คณะทำงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) และศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) ว่าจาก 100% ของกลุ่มสำรวจ


ทั้งนี้จะพบว่าทุกเหตผลล้วนเป็นความเชื่อที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเป็นอย่างมาก

  • ขับแค่ใกล้ ๆ เอง ไม่น่าอันตรายหรอก” อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกที่ แม้แต่ในระยะทางสั้น ๆ การไม่สวมหมวกกันน็อกแม้จะขับในซอยบ้าน ก็เสี่ยงต่อการบาดเจ็บรุนแรงหรือเสียชีวิต
  • ไม่ได้ขี่ออกถนนใหญ่สักหน่อย ไม่เห็นเป็นไรเลย” อุบัติเหตุไม่เลือกหรอกว่าจะต้องเกิดที่ถนนแบบไหน ความประมาทเล็ก ๆ แบบนี้ อาจทำให้ชีวิตตกอยู่ในความเสี่ยงต่ออุบัติได้อย่างง่ายดาย ซึ่งรู้หรือไม่ครับว่า?… 75% ของจุดเกิดเหตุห่างจากบ้าน 5-10  กิโลเมตร
  • ต้องรีบไปแล้ว ไม่ต้องใส่หรอกหมวกน่ะ แปป ๆ ก็ถึง” ความเร่งรีบที่ต้องเดินทาง จนกลายเป็นข้ออ้างที่ไม่อยากหยิบหมวกกันน็อกไปสวมขณะเดินทาง อาจกลายเป็นความประมาทจนนำไปสู่อุบัติเหตุที่คาดไม่ถึง
  • ใส่หมวกมันอึดอัด ร้อน เหงื่อออก” ความอึดอัดในตอนนี้ยังดีกว่าต้องนอนอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเดือน ๆ นะ! ดังนั้นควรเลือกหมวกที่พอดีกับศีรษะและมีการระบายอากาศที่ดี ก็ช่วยให้ใส่สบายขึ้น ที่สำคัญเลือกที่ได้รับมาตรฐาน มอก.
  • ก็กลัวผมเสียทรงง่ะ” หมวกกันน็อกไม่ได้ช่วยแค่เรื่องภาพลักษณ์ แต่ช่วยชีวิตคุณ ความเท่จริง ๆ คือการรอดกลับบ้านปลอดภัยทุกวันต่างหาก!
  • เอาไปก็ไม่มีที่เก็บ จะเอาไปทำไม” ชิ้นใหญ่ เกะกะ แต่ไอเทมชิ้นนี้จะลดอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตได้ หากสวมไว้ทุกครั้งที่ขับขี่นะ
  • ไม่มีตำรวจคอยจับ ไม่ต้องกลัว” การสวมหมวกกันน็อกไม่ใช่แค่เพื่อหลีกเลี่ยงโทษปรับ แต่เพื่อปกป้องตัวเอง หากเกิดอุบัติเหตุ ไม่มีใครช่วยชีวิตได้เท่าหมวกใบนี้แล้ว
  • ก็ไม่มีหมวก จะไปหาจากไหน” จะอ้างว่าไม่มีได้ ขับรถจักรยานยนต์ไม่ว่ากรณีไหนเราต้องมีหมวกกันน็อกประจำตัวไว้ เสียเงินสักนิด ลงทุนกับหมวกหน่อย เพราะหมวกใบเดียวสามารถรักษาชีวิตจากอุบัติเหตุได้เลยนะ
  • ก็ไม่คิดว่า จะเกิดอุบัติเหตุ” ไม่มีใครคาดเดาอนาคตได้ ทุกคนล้วนประมาทในบางเวลา การสวมหมวกกันน็อกคือการเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่ไม่คาดคิด
  • คนที่นั่งมาไม่ได้สวมด้วย” คนขับสวมหมวกมาคนเดียว แต่คนซ้อนไม่ได้สวมหมวกมาด้วย เพราะไม่มีอุปกรณ์ให้ หรือคนซ้อนก็ไม่อยากสวม ชวนให้คนที่ไม่ได้สวมหมวกกันน็อกต้องสวมหมวกด้วยกัน


สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ความคิด ทัศนคติของผู้ใช้จักรยานยนต์ยังมีความเข้าใจผิดในเรื่อง “การสวมหมวกกันน็อก” อยู่มาก เนื่องจาก “หมวกกันน็อก” มีเพื่อป้องกัน หรือช่วยลดความรุนแรงของอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น ไม่ใช่ใส่เนื่องจากมีกฎหมายบังคับ  


พี่เซฟก็ไม่อยากจะพูดบ่อย ๆ นะครับว่าต้องใส่ ต้องสวม บ่นเป็นคนแก่ แต่อยากจะบอกว่ามันสำคัญมาก ๆ เลยนะครับ เหตุผลร้อยแปดพันเก้า ที่เรากำลังคุยกัน มันไม่สามารถเทียบเท่ากับการบาดเจ็บ หรือการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ ต่อตัวเราผู้ขับขี่
หรือผู้ซ้อน และกับคนที่เรารักได้เลย เพราะฉะนั้นความปลอดภัยของเราย่อมต้องมาก่อนเสมอ “การสวมหมวกกันน็อก” จึงเป็นอีก 1 ข้อสำคัญ เพื่อให้เราปลอดภัย ลดเสี่ยง ลดเจ็บ

ที่มา:

– บทเรียนการส่งเสริมและบังคับใช้ กฎหมายหมวกกันน็อก 100%, ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)
www.roadsafetythai.org/edoc/doc_20191126094227.pdf 

– การแถลงข่าวผลการสำรวจอัตราการสวมหมวกกันน็อกของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ในประเทศไทย ปี 2566, มูลนิธิไทยโรดส์

– 10 เหตุผลสำคัญของการไม่สวมหมวกกันน็อก, สสส. www.thaihealth.or.th/?p=232297

– มือส่งเสริมการใช้หมวกกันน็อคในองค์กร” โดย คณะทำงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) และศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) หน้า 12

สนับสนุนโดย

บริหารจัดการโดย

© Copyright 2022 Safe Education Thailand. All rights reserved.