รู้เรื่องจราจร

คาดการณ์ความปลอดภัยให้แม่น กับ 9 ความเสี่ยงทางถนน

คาดการณ์ความปลอดภัยให้แม่น กับ 9 ความเสี่ยงทางถนน

“คน – รถ – ถนน/สภาพแวดล้อม” องค์ประกอบพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยให้การขับขี่ของเราปลอดภัย ไม่ว่าจะรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถโดยสายประจำทาง และอื่น ๆ ซึ่งนอกจากการเตรียมสภาพร่างกาย มีวินัยในการขับขี่ และรักษาสภาพรถให้พร้อมต่อการสัญจรทุกครั้งแล้ว การคาดการณ์ความเสี่ยงทางถนนและสภาพแวดล้อมโดยรอบได้อย่างแม่นยำ จะทำให้การเดินทางของเราปลอดภัยยิ่งขึ้น ยังเป็นการช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันเหตุร้ายได้ล่วงหน้า รวมถึงลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุทางถนนตามข่าวที่เราพบเหตุกันรายวัน

ชวนรู้จัก Behavior Based Safety การกำจัดความเสี่ยงเพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยอย่างยั่งยืน

ชวนรู้จัก Behavior Based Safety การกำจัดความเสี่ยงเพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยอย่างยั่งยืน

ถนนยังคงเป็นหนึ่งใน “ฆาตกรเงียบ” ที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกถึง 1.19 ล้านคนต่อปี และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเด็กและเยาวชนอายุ 5–29 ปีในประเทศไทย แม้จะมีการออกมาตรการมากมาย แต่อัตราการเสียชีวิตยังคงสูงอยู่ รายงานสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนโลก (Global Status Report on Road Safety 2023) พบว่าในปี 2566 มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย จำนวน 18,218 คน หรือเฉลี่ยวันละ 50 ราย ซึ่งติดเป็นอันดับที่ 18 ของโลก โดยประเทศไทยเอง
มีเป้าหมายเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุให้ได้ครึ่งหนึ่งภายในปี 2030 ซึ่งมีความท้าทายเป็นอย่างมาก เพราะความปลอดภัยทางถนน ไม่ใช่แค่การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน แต่ต้องโฟกัสไปที่ “พฤติกรรม” ผู้ใช้ถนน

ขับขี่อย่างฮีโร่ ปลอดภัยด้วยหมวกกันน็อกที่มี มอก.

ขับขี่อย่างฮีโร่ ปลอดภัยด้วยหมวกกันน็อกที่มี มอก.

เพราะเราทุกคนล้วนเป็นฮีโร่ขับขี่อย่างมีวินัย เคารพกฎจราจร ใส่ใจทุกความปลอดภัยในการเดินทาง รู้หรือไม่ว่า….? คนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุการขับขี่รถจักรยานยนต์ โดยพบว่า 8 ใน 10 รายไม่ได้สวมหมวกกันน็อกเมื่อขับขี่ และสาเหตุหลักที่ทำให้เสียชีวิตก็คือ “การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง” ซึ่งส่งผลกระทบกระเทือนสมอง

#ความปลอดภัยต้องมาก่อน

ขับขี่ศึกษา (Safe Education) ช่องทางสื่อสารกับวัยรุ่นเรื่องการขับขี่ที่ปลอดภัย และมีชุดความรู้ให้แก่ครูเพื่อส่งต่อความรู้ ความเข้าใจ และทำกิจกรรมร่วมกับนักเรียนในโรงเรียนได้

จะเลือกตัดสินใจอย่างไร กับ “8 สถานการณ์”

แบบฝึกหัด “จะเลือกตัดสินใจอย่างไร กับ 8 สถานการณ์”

หลังเลิกเรียน ครูอาจพบว่า นักเรียนที่รักมีพฤติกรรมการขับขี่ที่เสี่ยงอันตราย หรือตกอยู่ในสถานการณ์หวาดเสียวบนถนน เช่น ขี่มอเตอร์ไซค์ซ้อน 3, ไม่สวมหมวกกันน็อก, ขับขี่รถฝ่าไฟแดง, รถบรรทุกขับผ่านหน้าโรงเรียนจำนวนมาก, ขับขี่ย้อนศร เมื่อเห็นแบบนี้แล้ว อยากช่วยป้องกันเหตุร้าย ป้องกันภัยไม่ให้เกิดขึ้นกับนักเรียน ครูเองจะจัดการเรียนการสอนอย่างไร

รู้หรือไม่???? “เครื่องหมายจราจร” ⚠️ ⛔ 🚫 ที่เราเห็นข้างทางมีความหมายอย่างไรบ้าง . 🐯 พี่เซฟ…ชวนคุณครูเปิดคาบห้องเรียน ชวนนักเรียนมาทำความรู้จักกับ “เครื่องหมายจราจร” ผ่านแบบฝึกหัด 📃 เพื่อติดตั้งชุดความรู้เข้าใจความหมายสู่การขับขี่ปลอดภัยของพวกเค้า . 📥 ดาวน์โหลดแบบฝึกหัดฟรี! พร้อมแนวทางจัดกิจกรรมเรียนรู้ 🔎 สแกน QR Code หรือกดที่ลิงก์นี้ได้เลย https://forms.gle/1PUQdkdGMpEvoJof8 💚 อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://safeeducationthai.com/exercise-interesting-traffic-signs/ . #ขับขี่ศึกษา #ความปลอดภัยต้องมาก่อน #แชร์ความเซฟลดความเสี่ยง #ลดเสี่ยงลดเจ็บ #แบบฝึกหัดการเรียนรู้ #เครื่องมือการเรียนการสอน #ครู #safeeducationthai #roadsafety #roadsafetyliteracy #สสส #เครื่องหมายจราจร #ป้ายจราจร #สัญลักษณ์จราจร

แบบฝึกหัด “เครื่องหมายจราจรน่ารู้”

“เครื่องหมายจราจร” สื่อกลางสำคัญช่วยให้ผู้ใช้รถปฏิบัติตามกฎจราจรได้อย่างถูกต้อง และช่วยลดอุบัติเหตุทางถนนที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวเราหรือบุคคลอันเป็นที่รักได้ ดังนั้นการขับขี่ให้ปลอดภัย ไม่เพียงความสามารถในการดูถนนหนทาง คาดการณ์ความเสี่ยงให้ดีแล้ว เราควรสังเกตเครื่องหมายจราจรข้างทางหรือบนพื้นถนน และปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องได้อีกด้วย

แบบฝึกหัดนักเรียน “ภารกิจหมวกกันน็อก”

แบบฝึกหัดนักเรียน “ภารกิจหมวกกันน็อก”

จากข้อมูลระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ (Injury Surveillance) ปี 2562-2566 พบว่า เยาวชนอายุ 15-19 เป็นกลุ่มที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตสูงสุดจากอุบัติเหตุทางถนนด้วยการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ โดยส่วนของร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บเกิดขึ้นในบริเวณ ผิวหนัง, ศีรษะและลำคอ, แขน ขา มือ เท้า และกระดูกเชิงกราน, ใบหน้า, ทรวงอก, ช่องท้องและช่องเชิงกรานตามลำดับ หากอวัยวะ 3 ส่วนได้รับบาดเจ็บรุนแรงอาจจะส่งผลให้เสียชีวิตได้ ได้แก่ ศีรษะและคอ, ทรวงอก, ช่องทางและช่องเชิงกราน ส่วนอัตราการบาดเจ็บที่บริเวณศีรษะเฉลี่ย 5 ปี สูงถึง 40.08% ในขณะที่มีอัตราการสวมหมวกกันน็อกในผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์เพียง 16.67% เท่านั้น

ภาคีเครือข่าย

สนับสนุนโดย

บริหารจัดการโดย

© Copyright 2022 Safe Education Thailand. All rights reserved.