เส้นทางชีวิต “คนเดินเท้า” ในประเทศไทย

เส้นทางชีวิต “คนเดินเท้า” ในประเทศไทย
629

ในทุก ๆ ปี เราได้ยินข่าวการเสียชีวิตของคนเดินเท้าจากอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทยกันบ่อยมาก ๆ ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่ได้อยู่ไกลตัวเลย ไม่ว่าจะเป็นในเมืองใหญ่ที่มีการจราจรหนาแน่น หรือในซอยที่เงียบสงบ ทุกเส้นทางล้วนเต็มไปด้วยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

วันนี้พี่เซฟจะมาพูดถึง สถานการณ์คนเดินเท้าเสียชีวิตในประเทศไทย ตามข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบก และ องค์การอนามัยโลก (WHO) ประเทศไทยมีอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในกลุ่มคนเดินเท้าที่สูงมาก โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ อย่าง กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่น ที่มีการจราจรหนาแน่น  

จากการสำรวจ พฤติกรรมการหยุดรถบริเวณทางม้าลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร ของ สสส. และ มูลนิธิไทยโรดส์ ปี 2566 พบว่า

“มีรถเพียง 13% ที่หยุดรถเมื่อมีคนมายืนรอบริเวณทางข้าม”

  • โดย “รถจักรยานยนต์ : 11%” เป็นประเภทรถที่หยุดให้คนข้ามถนนน้อยที่สุด
  • รองลงมาคือ “รถยนต์ : 15%” และ “รถโดยสารประจำทาง : 15%”

ในขณะที่กฎหมายมีข้อกำหนดให้ขับขี่ด้วยความเร็วจำกัดที่ปลอดภัย สำหรับคนเดินเท้า ที่ 30 กิโลเมตร/ชั่วโมง

แต่กลับพบว่า

  • 79% มีการใช้ความเร็วเฉลี่ยเกิน 30 กิโลเมตร/ชั่วโมง ก่อนถึงบริเวณทางข้าม (ทางม้าลาย)
  • 90% รถจักรยานยนต์ใช้ความเร็วเฉลี่ยเกิน 30 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • 75% รถยนต์ใช้ความเร็วเฉลี่ยเกินตามกฎหมายกำหนด
  • 67% รถโดยสารประจำทางใช้ความเร็วเฉลี่ยเกินเกินตามกฎหมายกำหนด
เส้นทางชีวิต “คนเดินเท้า” ในประเทศไทย

และในระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ปี 2566

  • มีคนเดินเท้าในประเทศไทย “เสียชีวิต” 196 ราย
  • ช่วงที่มักเกิดอุบัติเหตุ คือ เวลา ตี 3 – ตี 5.59 น. รองลงมาคือ เวลา 6 โมงเช้า – 08.59 น.
  • ยานพาหนะที่ชนสูงสุดคือ “รถกระบะ” รองลงมาคือ “รถยนต์”
เส้นทางชีวิต “คนเดินเท้า” ในประเทศไทย

รู้แบบนี้กันแล้ว เราจะทำอะไรได้?

ทำได้สิครับ… ช่วยกันลดความเสี่ยงนี้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่ และการใช้รถ ใช้ถนนในการเดินทาง ไม่ว่าเราจะคนขับขี่ หรือเราจะเป็นคนเดินก็ตาม อย่างเช่น

  1. ใช้ทางเดินเท้าที่มีความปลอดภัย: ถ้าเป็นไปได้ให้เลือกเดินบนทางเท้าที่ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้สะดวกและปลอดภัย หลีกเลี่ยงการเดินในที่ที่ไม่มีทางเดิน หรือบนถนนที่มีรถจอดขวางทาง
  2. ใช้ทางข้ามทางม้าลายเท่านั้น: ถ้าไม่มีสะพานลอย แม้ว่าบางครั้งจะรู้สึกว่าไม่สะดวก แต่การข้ามถนนในจุดที่มีทางข้ามม้าลาย หรือมีสัญญาณไฟจราจรจะช่วยให้เราปลอดภัยมากกว่า ยกมือขึ้น เพื่อเป็นทริคง่าย ๆ ตอนข้ามถนนให้คนขับขี่มองเห็นผู้ข้ามกันด้วยนะครับ
  3. อย่าละเลยสัญญาณไฟจราจร: เรามักจะเห็นคนบางคนข้ามถนนทั้งที่ไฟแดงอยู่ แต่จริง ๆ แล้วการเคารพกฎจราจรไม่เพียงช่วยป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น แต่ยังสร้างความปลอดภัยให้กับทุกคนที่ใช้ถนนร่วมกัน

สิ่งที่จะช่วยลดอุบัติเหตุและทำให้การเดินทางของทุกคนในสังคมปลอดภัยยิ่งขึ้น! ก็คือ การเริ่มต้นจากตัวเราครับ…

ที่มา:

– การสำรวจพฤติกรรมการหยุดรถบริเวณทางข้าม (ทางม้าลาย) ในเขตกรุงเทพมหานคร, ปี 2566 โดย สสส. และ มูลนิธิไทยโรดส์

– สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนประเทศไทย, โดย กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค

สนับสนุนโดย

บริหารจัดการโดย

© Copyright 2022 Safe Education Thailand. All rights reserved.