แบบฝึกหัดนักเรียน “ภารกิจหมวกกันน็อก”

แบบฝึกหัดนักเรียน “ภารกิจหมวกกันน็อก”
515

จากข้อมูลระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ (Injury Surveillance) ปี 2562-2566 พบว่า เยาวชนอายุ 15-19 เป็นกลุ่มที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตสูงสุดจากอุบัติเหตุทางถนนด้วยการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ โดยส่วนของร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บเกิดขึ้นในบริเวณ ผิวหนัง,  ศีรษะและลำคอ, แขน ขา มือ เท้า และกระดูกเชิงกราน, ใบหน้า, ทรวงอก, ช่องท้องและช่องเชิงกรานตามลำดับ หากอวัยวะ 3 ส่วนได้รับบาดเจ็บรุนแรงอาจจะส่งผลให้เสียชีวิตได้ ได้แก่ ศีรษะและคอ, ทรวงอก, ช่องทางและช่องเชิงกราน ส่วนอัตราการบาดเจ็บที่บริเวณศีรษะเฉลี่ย 5 ปี สูงถึง 40.08% ในขณะที่มีอัตราการสวมหมวกกันน็อกในผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์เพียง 16.67% เท่านั้น1

แบบฝึกหัดนักเรียน “ภารกิจหมวกกันน็อก”
แบบฝึกหัดนักเรียน “ภารกิจหมวกกันน็อก”

แบบฝึกหัดนี้ จะเป็นเครื่องมือให้ครูเตรียมความพร้อมเรื่องความปลอดภัยทางถนนให้กับนักเรียน ก่อนที่พวกเค้าจะเริ่มเป็นผู้ขับขี่หน้าใหม่ หรือหากขับขี่มอเตอร์ไซค์อยู่แล้ว ก็ได้รู้รอบด้านของการสวมหมวกกันน็อกมากขึ้น โดยให้นักเรียนได้ลองค้นคว้าค้นหาประโยชน์ คาดการณ์การป้องกันจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ของการสวมหมวกกันน็อก ด้วยตัวเอง

  • กลุ่มผู้เรียน: ป.4-6, ม.ต้น, ม.ปลาย
  • อุปกรณ์ที่ใช้: สีไม้, แบบฝึกหัดดาวน์โหลดได้ที่ https://forms.gle/Lz4imbs5JdgxuLj16

แนวทางการเรียนการสอน

ขั้นตอนที่ 1: ทำในห้องเรียนได้เลย
ระยะเวลา: 20-30 นาที

  1. เกริ่นนำก่อนชวนนักเรียนทำแบบฝึกหัด บอกเล่าถึงสถานการณ์ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนใกล้ตัวนักเรียน โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับการขับขี่มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประโยชน์ที่พวกเค้าจะได้รับจากการทำแบบฝึกหัดนี้ และเมื่อนักเรียนพร้อมแล้ว สามารถแจกแบบฝึกหัดนี้ให้พวกเค้าได้เลย
  2. ชวนนักเรียนทำแบบฝึกหัดไปพร้อม ๆ กัน เริ่มต้นด้วย
  • ข้อที่ 1 “ระบายสีหมวกกันน็อก” แล้วให้เวลาพวกเค้าระบายสีหมวกกันน็อก พร้อมเปิดเพลงคลอเบา ๆ
  • ข้อที่ 2 “ประโยชน์ของหมวกกันน็อกรูปแบบนี้” ให้นักเรียนเขียน 5 ประโยชน์ในแง่มุมต่าง ๆ ที่พวกเค้าคิด ของหมวกกันน็อกของแต่ละประเภท โดยให้เขียนตอบเท่าที่ได้ หากตอบไม่ครบให้เก็บส่วนที่เหลือไว้ค้นคว้าต่อเป็นการบ้าน
  • ข้อที่ 3 “หากเกิดอุบัติเหตุ หมวกกันน็อกนี้ จะช่วยป้องกัน” ให้นักเรียนได้คิดจินตนาการ และวิเคราะห์ ด้วยการคาดการณ์
    5 ข้อ การป้องกันตัวเราด้วยการสวมหมวกกันน็อกหากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น

ขั้นตอนที่ 2: มอบหมายเป็นการบ้าน
ระยะเวลา: 1 วัน

  1. แนะนำให้นักเรียนหาคำตอบเพิ่มเติม ทั้งในส่วนที่ยังไม่ครบถ้วน เช่น สอบถามคนที่เคยใช้ หาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
  2. ให้นักเรียนตอบ 2 ข้อสุดท้ายเพื่อประมวลความคิดสู่การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้จริง ด้วยการตอบคำถาม…
  • บอก 3 เหตุผล…ทำไม? คนที่เรารัก ต้องสวมหมวกกันน็อก
  • บอก 3 ประโยค ที่จะชวนคนที่เรารัก ให้ “สวมหมวกกันน็อก”
    นัดหมายส่งการบ้านในกิจกรรมการเรียนรู้ครั้งถัดไป

ขั้นตอนที่ 3: ชวนนักเรียนแลกเปลี่ยนพูดคุยกันในห้องเรียนในคาบส่งการบ้าน
ระยะเวลา: 10-15 นาที

  1. ชวนหรือสุ่มเรียกนักเรียนแชร์คำตอบที่ได้จากแบบฝึกหัดที่ทำ จำนวน 3-5 คน คนละประมาณ 3-5 นาที
  2. ครูสรุปประเด็นสำคัญถึงการทำแบบฝึกหัดในครั้งนี้ ได้แก่
  • ประโยชน์ของหมวกกันน็อกแต่ละแบบ

ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://safeeducationthai.com/choose-helmet-select-your-safety/

  • ข้อดีของการสวมหมวกกันน็อก

ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://safeeducationthai.com/the-motorcycle-helmet-projects-your-brain/

  • การเตรียมตัวก่อนขับขี่มอเตอร์ไซค์

ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://safeeducationthai.com/5-things-for-a-long-ride-journey/

และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางการสอนที่ครูสามารถสร้างให้กับนักเรียนได้ ให้พวกเค้าได้ตระหนักถึงความสำคัญของการสวมหมวกกันน็อก ผ่านการค้นหาความรู้และการคาดการณ์ด้วยจินตนาการ เรื่องของหมวกกันน็อกด้วยตัวเอง

ที่มา: 1สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนประเทศไทย, กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค

สนับสนุนโดย

บริหารจัดการโดย

© Copyright 2022 Safe Education Thailand. All rights reserved.