Category: เครื่องมือศึกษา

แบบฝึกหัด “Detective SAFE” นักสืบจราจร ไขคดีทางถนน

แบบฝึกหัด “Detective SAFE” นักสืบจราจร ไขคดีทางถนน

ระยะอันตรายทางถนน คือ ตั้งแต่จุดสตาร์ทหรือรัศมีจากบ้านไม่เกิน 5 กิโลเมตร เพราะจากข้อมูลสถิติของห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น พบว่ากว่า 73% ของผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตมาจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ที่เกิดขึ้นในระยะนี้* มักจะเกิดที่ถนนภายในชุมชนซึ่งเป็นถนนสายรองมากกว่าสายหลัก หรือการป้องกันที่ลดลงนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็น การขี่รถโดยประมาท การขาดประเมินความเสี่ยง ไม่สวมหมวกกันน็อกทั้งคนขี่และคนซ้อน เพราะคิดว่า “ไปใกล้ ๆ แค่นี้เอง”, “ถนนแถวนี้ขับบ่อย รู้ทุกจุด”, “ไม่ได้ขี่ออกถนนใหญ่” ความคิดที่คิดว่าไม่เป็นไร อาจพาชีวิตไปสู่เส้นทางมรณะได้เลย

แบบฝึกหัด “Safety Journey Log” ภารกิจติดตามสังเกตการเดินทางของตัวเราตลอด 7 วัน

แบบฝึกหัด “Safety Journey Log” ภารกิจติดตามสังเกตการเดินทางของตัวเราตลอด 7 วัน

“ขับขี่ปลอดภัยสร้างได้” ไม่ต่างอะไรกับการฝึกให้ตัวเองตื่นเช้า เก็บที่นอน ดื่มน้ำให้ครบ 8 แก้วต่อวัน ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ ไม่เล่นโทรศัพท์ก่อนนอน หลับพักผ่อนให้เพียงพอ ฯ บางคนอาจนึกในใจว่าใครจะไปทำได้! พี่เซฟอยากบอกว่า หากเราตั้งใจ เชื่อว่าทำได้ และหาวิธีเริ่มต้นง่าย ๆ แล้วทำให้ต่อเนื่อง รับรองทุกคนทำได้อย่างแน่นอน!

รู้จุดเสี่ยง! เลี่ยงอุบัติเหตุทางถนน

แบบฝึกหัด “รู้จุดเสี่ยง! เลี่ยงอุบัติเหตุทางถนน”

เพราะด้วยความเป็นวัยรุ่น วัยฮอร์โมน การสนใจต่อความปลอดภัยทางถนนอาจจะยังไม่ใช่เรื่องหลักในชีวิตประจำวัน
แต่ก็เพราะที่ไม่สนใจนั่นละครับ!! ผู้ปกครอง และคุณครู ยิ่งต้องช่วยกันชี้ช่องให้พวกเค้าเห็นว่า ความเสี่ยงทางถนน อาจสร้างผลกระทบอันเลวร้ายที่ประเมินค่าไม่ได้ การพูดคุยบอกกล่าวอาจช่วยได้ในระยะสั้น แต่การให้พวกเค้าได้เรียนรู้ผ่าน การคิด
การฟัง การถาม การปฏิบัติ ด้วยนั้น จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนให้กับนักเรียนของครูได้ในระยะยาว

จะเลือกตัดสินใจอย่างไร กับ “8 สถานการณ์”

แบบฝึกหัด “จะเลือกตัดสินใจอย่างไร กับ 8 สถานการณ์”

หลังเลิกเรียน ครูอาจพบว่า นักเรียนที่รักมีพฤติกรรมการขับขี่ที่เสี่ยงอันตราย หรือตกอยู่ในสถานการณ์หวาดเสียวบนถนน เช่น ขี่มอเตอร์ไซค์ซ้อน 3, ไม่สวมหมวกกันน็อก, ขับขี่รถฝ่าไฟแดง, รถบรรทุกขับผ่านหน้าโรงเรียนจำนวนมาก, ขับขี่ย้อนศร เมื่อเห็นแบบนี้แล้ว อยากช่วยป้องกันเหตุร้าย ป้องกันภัยไม่ให้เกิดขึ้นกับนักเรียน ครูเองจะจัดการเรียนการสอนอย่างไร

รู้หรือไม่???? “เครื่องหมายจราจร” ⚠️ ⛔ 🚫 ที่เราเห็นข้างทางมีความหมายอย่างไรบ้าง . 🐯 พี่เซฟ…ชวนคุณครูเปิดคาบห้องเรียน ชวนนักเรียนมาทำความรู้จักกับ “เครื่องหมายจราจร” ผ่านแบบฝึกหัด 📃 เพื่อติดตั้งชุดความรู้เข้าใจความหมายสู่การขับขี่ปลอดภัยของพวกเค้า . 📥 ดาวน์โหลดแบบฝึกหัดฟรี! พร้อมแนวทางจัดกิจกรรมเรียนรู้ 🔎 สแกน QR Code หรือกดที่ลิงก์นี้ได้เลย https://forms.gle/1PUQdkdGMpEvoJof8 💚 อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://safeeducationthai.com/exercise-interesting-traffic-signs/ . #ขับขี่ศึกษา #ความปลอดภัยต้องมาก่อน #แชร์ความเซฟลดความเสี่ยง #ลดเสี่ยงลดเจ็บ #แบบฝึกหัดการเรียนรู้ #เครื่องมือการเรียนการสอน #ครู #safeeducationthai #roadsafety #roadsafetyliteracy #สสส #เครื่องหมายจราจร #ป้ายจราจร #สัญลักษณ์จราจร

แบบฝึกหัด “เครื่องหมายจราจรน่ารู้”

“เครื่องหมายจราจร” สื่อกลางสำคัญช่วยให้ผู้ใช้รถปฏิบัติตามกฎจราจรได้อย่างถูกต้อง และช่วยลดอุบัติเหตุทางถนนที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวเราหรือบุคคลอันเป็นที่รักได้ ดังนั้นการขับขี่ให้ปลอดภัย ไม่เพียงความสามารถในการดูถนนหนทาง คาดการณ์ความเสี่ยงให้ดีแล้ว เราควรสังเกตเครื่องหมายจราจรข้างทางหรือบนพื้นถนน และปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องได้อีกด้วย

แบบฝึกหัดนักเรียน “ภารกิจหมวกกันน็อก”

แบบฝึกหัดนักเรียน “ภารกิจหมวกกันน็อก”

จากข้อมูลระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ (Injury Surveillance) ปี 2562-2566 พบว่า เยาวชนอายุ 15-19 เป็นกลุ่มที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตสูงสุดจากอุบัติเหตุทางถนนด้วยการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ โดยส่วนของร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บเกิดขึ้นในบริเวณ ผิวหนัง, ศีรษะและลำคอ, แขน ขา มือ เท้า และกระดูกเชิงกราน, ใบหน้า, ทรวงอก, ช่องท้องและช่องเชิงกรานตามลำดับ หากอวัยวะ 3 ส่วนได้รับบาดเจ็บรุนแรงอาจจะส่งผลให้เสียชีวิตได้ ได้แก่ ศีรษะและคอ,

แบบฝึกหัดนักเรียน “เตรียมความพร้อมรับมือหลังเกิดเหตุทางถนน”

แบบฝึกหัดนักเรียน “เตรียมความพร้อมรับมือหลังเกิดเหตุทางถนน”

“อุบัติเหตุทางถนน” ที่เราพบเห็นอยู่ในสื่อบ่อย ๆ พี่เซฟเชื่อว่า ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่หากต้องพบเจอกับเหตุการณ์จริง ๆ เราทุกคนก็ควรรู้วิธีการรับมือ จัดการได้อย่างถูกต้อง ฉับไว เพื่อความปลอดภัยของตนเอง รวมถึงผู้คนที่โดยสารไปด้วยกัน

แบบฝึกหัด Safe or Unsafe?

แบบฝึกหัด Safe or Unsafe?

แบบฝึกหัดที่ชวนให้เด็กและเยาวชน ได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางด้วยยานพาหนะต่าง ๆ ทั้งด้านที่ ‘Safe : ปลอดภัย’ และ ‘Unsafe? : ไม่ปลอดภัย?’

สนับสนุนโดย

บริหารจัดการโดย

© Copyright 2022 Safe Education Thailand. All rights reserved.