“ไฟเขียว-ไฟแดง” สัญญาณไฟจราจรที่ช่วยให้ผู้ใช้รถใช้ถนนขับขี่กันได้อย่างปลอดภัย ไม่ชนกันตามทางร่วมทางแยก หากทุกคนช่วยกันปฏิบัติตามสัญญาณไฟที่ปรากฎ ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า “ไฟเขียว” เป็นสัญญาณเราให้ขับขี่รถผ่านแยกได้ ส่วน “ไฟแดง” หมายถึง เราต้องหยุดรอที่ทางแยก ให้รถทางอื่นไปก่อน ในขณะที่ “ไฟเหลือง” (หรือไฟส้ม) ผู้ขับขี่ต้องชะลอและเตรียมหยุดรถ แต่วันนี้พี่เซฟจะพาทุกคนมารู้จักไฟจราจรให้ลึกลงกว่าเดิมอีกนิด เป็นความรู้ใหม่ที่พี่เซฟเดาว่า น้อง ๆ อาจไม่รู้ ว่าแล้วก็ไปอ่านกันเลย
สัญญาณไฟจราจร มีความเป็นมาอย่างไร ?
ไฟจราจร ถูกคิดค้นขึ้นตั้งแต่ปี 1868 โดยคุณ เจ.พี. ไนต์ วิศวกรชาวอังกฤษ เพื่อใช้ควบคุมการสัญจรของรถม้า และคนเดินเท้า ที่เดินผ่านไปผ่านมาบริเวณสี่แยก ณ ประเทศอังกฤษ บริเวณหน้ารัฐสภา โดยไฟจราจรยุคแรก ๆ มีเพียง 2 สี คือ สีเขียวและสีแดง
สัญญาณไฟจราจร มีไว้เพื่ออะไร ?
ทำหน้าที่ให้สัญญาณผู้ขับขี่ ณ จุดตัดหรือทางแยกของถนน เพื่อควบคุมการใช้ถนนให้มีประสิทธิภาพ และช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย
ข้อควรปฏิบัติ เมื่อเจอสัญญาณไฟจราจร
พฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ณ จุดที่มีสัญญาณไฟจราจร
- สัญญาณไฟแดง: ผู้ขับขี่มักขับรถจี้ท้ายคันข้างหน้าเพื่อให้พ้นสัญญาณไฟเหลือง แต่ไปไม่ทันทำให้ติดอยู่ระหว่างแยก
- สัญญาณไฟเหลือง: ผู้ขับขี่มักจะเร่งความเร็วเพื่อไม่ให้ติดสัญญาณไฟแดง
- สัญญาณไฟเขียว: ผู้ขับขี่มักจะรีบออกรถทันที่ โดยไม่ตรวจสอบรถจากอีกฝั่ง
นอกจากขับขี่ยานพาหนะอย่างไม่ประมาทแล้ว การปฏิบัติตามกฎจราจร ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญ ที่ช่วยป้องกันการสูญเสียจากอุบัติเหตุได้เช่นกัน ต้องท่องให้ขึ้นใจนะครับว่า “ความปลอดภัยต้องมาก่อนเสมอ”
ที่มา
– ChobRod, https://bit.ly/44vhgSF
– Dparktraffic, https://bit.ly/3Q0gEQP
– CreativeTalk, https://bit.ly/3O2HpS9
– SanTorMotor, https://bit.ly/3rBCBvm
– Bangkokbiznews, https://www.bangkokbiznews.com/social/984601, https://www.bangkokbiznews.com/auto/1046574
– thanachartinsurance, https://bit.ly/3XVsKN7