หนึ่งสิ่งสำคัญที่รถทุกคันบนถนนนจะขาดไปไม่ได้เลย นั่นคือ “ป้ายทะเบียนรถ” ที่มีความหมายเหมือนเป็นบัตรประจำตัวรถทุกคันบนถนน แต่ถ้าน้อง ๆ สังเกตบนท้องถนนให้ดีล่ะก็ จะพบว่ารถที่เราเห็นกันบนถนน อาจมีบางคันที่ป้ายทะเบียนมีสีที่แตกต่างจากของเรา เพราะของเราเป็นสีขาว แถมเห็นมีตั้งหลายสีด้วย ว่าแต่มันความแตกต่างกันอย่างไร แล้วทะเบียนแต่ละสีมีความหมายว่ายังไงกัน วันนี้พี่เซฟมีคำตอบมาให้น้อง ๆ ทุกคน
ป้ายทะเบียนรถยนต์ เป็นสิ่งที่ช่วยระบุตัวตนของรถ ซึ่งนอกจากตัวอักษร และตัวเลขบนป้ายทะเบียนแล้ว ยังมีการแบ่งประเภทของรถยนต์ด้วยสีของป้ายทะเบียนอีกด้วย ซึ่งป้ายทะเบียนรถที่ใช้ในประเทศไทย หลัก ๆ มีทั้งหมด 13 แบบ ดังนี้
กลุ่มป้ายสีขาว
- ป้ายสีขาว ตัวอักษรสีดำ: ป้ายทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง
- ป้ายสีขาว ตัวอักษรสีเขียว: ป้ายทะเบียนรถบรรทุกส่วนบุคคล เช่น รถกระบะหรือรถบรรทุกขนาดเล็ก แต่สำหรับรถกระบะบางคันที่เป็นป้ายตัวหนังสือสีดำ เพราะว่ารถกระบะเหล่านั้นจดทะเบียนเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแทนนั่นเอง แต่ถ้านำใช้ในการบรรทุกเมื่อไหร่ล่ะก็ ผิดกฎหมายทันทีนะ
- ป้ายสีขาว ตัวอักษรสีน้ำเงิน: ป้ายทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีที่นั่งมากกว่า 7 ที่นั่ง เช่น รถตู้
- ป้ายสีขาว (ไม่สะท้อนแสง) ตัวหนังสือสีดำ: ป้ายทะเบียนสำหรับรถยนต์ของผู้แทนทางการทูต จะขึ้นต้นด้วย ท และตามด้วยรหัสประเทศ ขีด แล้วตามด้วยเลขทะเบียนรถ
กลุ่มป้ายสีเหลือง
5. ป้ายสีเหลือง ตัวอักษรสีดำ: ป้ายทะเบียนสำหรับรถจักรยานยนต์รับจ้าง อย่างพี่มอเตอร์ไซค์วิน และรถยนต์รับจ้าง ที่สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ไม่เกิน 7 คน เช่น แท็กซี่
6. ป้ายสีเหลือง ตัวอักษรสีเขียว: ป้ายทะเบียนสำหรับรถ 3 ล้อรับจ้าง เช่น รถตุ๊กๆ
7. ป้ายสีเหลือง ตัวอักษรสีแดง: ป้ายทะเบียนสำหรับรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด
8. ป้ายสีเหลือง ตัวอักษรสีน้ำเงิน: ป้ายทะเบียนสำหรับรถยนต์เล็ก 4 ล้อรับจ้าง เช่น รถกระป๊อ
กลุ่มป้ายสีต่าง ๆ
9. ป้ายสีแดง: ป้ายทะเบียนที่ออกให้ชั่วคราว (หรือที่เราชอบเรียกกันว่า รถป้ายแดง) เพื่อบ่งบอกว่ารถยนต์คันนี้ยังไม่ได้การรับรองด้วยการจดทะเบียนตามกฎหมาย ซึ่งรถคันดังกล่าวสามารถใช้งานบนถนนได้ชั่วคราว (ส่วนใหญ่ก็คือรถใหม่ที่พึ่งซื้อมา) แต่ต้องอยู่ในข้อกำหนดของกรมการขนส่งทางบกอย่างเคร่งครัด จนกว่าจะได้รับทะเบียนที่ถูกต้องตามกฎหมาย
10.ป้ายสีส้ม ตัวอักษรสีดำ: ป้ายทะเบียนสำหรับรถบรรทุกพ่วง รถแทรกเตอร์ และรถที่ใช้ในทางเกษตรกรรม
11. ป้ายสีเขียว ตัวอักษรสีดำ/สีขาว: ป้ายทะเบียนสำหรับรถบริการทัศนาจร และรถบริการให้เช่า เช่น รถลีมูซีนสนามบิน
12. ป้ายสีฟ้า (ไม่สะท้อนแสง) ตัวหนังสือสีขาว: เป็นป้ายสำหรับรถยนต์ที่มีหน้าที่ใช้งานพิเศษในงานการทูตและระหว่างประเทศ แบ่งได้ 3 หมวดได้แก่
ป้ายลายกราฟิก
13. ป้ายประมูลหรือป้ายทะเบียนที่มีพื้นหลังเป็นลายกราฟิก: ป้ายทะเบียนที่มีการประมูลตัวเลขชุดพิเศษ ตามความเชื่อส่วนบุคคล
ทั้งนี้ไม่ว่าจะรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ เราจะต้องติดแผ่นป้ายทะเบียนรถไว้ที่รถตลอดเวลา เพราะว่าทะเบียนรถเป็นของสำคัญที่มีระบุไว้ในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 หมวด 1 ว่าด้วยการจดทะเบียน เครื่องหมาย และการใช้รถ อีกทั้งหากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 7 ประกอบมาตรา 152 กำหนด ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่มิได้ติดแผ่นป้ายเลขทะเบียน แผ่นป้ายเครื่องหมายเลขทะเบียน หรือป้ายประจำรถมาใช้ในทางเดินรถ หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท และโทษที่เกี่ยวข้องกับทะเบียนรถอื่น ๆ ที่ควรศึกษากันเพิ่มเติม
อ่านแล้วก็ เออ!! เรื่องทะเบียนรถ เราต้องรู้กันด้วยหรอ พี่เซฟคิดว่า เรียกซะว่ารู้รอบด้านเรื่องจราจรบนท้องถนนก็แล้วกันนะครับ หลังจากนี้เห็นป้ายทะเบียนรถต่างแบบ หมดข้อสงสัย เพราะรู้ที่มาที่ไปกันหมดแล้วครับ คนยุคใหม่ ใส่ใจเรื่องจราจร เพราะความปลอดภัยสำคัญและต้องมาก่อนเสมอนะครับ
ที่มา:
– KATSAN, https://www.katsan.co/katsan-license-plate/
– เงินติดล้อ, https://bit.ly/3I0c9AQ, https://bit.ly/3MknJcz
– ไทยรัฐออนไลน์, https://www.thairath.co.th/news/auto/tips/2191623
– กระทรวงยุติธรรม, https://www.moj.go.th/view/71927