สวมก่อน บิดทีหลัง: สวมหมวกกันน็อกอย่างไรให้ปลอดภัย

how-to-wear-helmet
1,181

มอเตอร์ไซค์คู่กายก็มี หมวกกันน็อกคู่ใจก็ครบ ไปไหนใกล้ไกลก็สวมหมวกอยู่ประจำ แต่ถ้าสวมกันแบบไม่เข้าใจหรือไม่ถูกต้องล่ะก็ จะซื้อแพงหรือสเปกแรงแค่ไหนก็ไม่น่าจะช่วยให้เราปลอดภัยจากอุบัติเหตุบนท้องถนนได้แน่ ๆ อีกทั้งการที่หมวกกันน็อกให้ถูกต้องมันยังเรื่องของกฎหมายอีกด้วย เห็นแบบนี้พี่เซฟเลยจะมาแนะนำน้อง ๆ ถึงการสวมหมวกกันน็อก ว่าสวมอย่างไรให้ ปลอดภัย ถูกใจ และถูกต้อง

1. สวมให้ดี = สวมพอดี

เวลาไปน้อง ๆ ไปซื้อหมวกกันน็อก ถ้าเป็นไปได้ควรจะวัดศีรษะมาจากที่บ้าน หรือถ้าร้านไหนบริการดีระดับห้าดาวล่ะก็ ขอให้พี่เจ้าของร้านช่วยวัดได้ก็ดีมาก โดยวัดขนาดศีรษะส่วนที่กว้างที่สุด ตำแหน่งบริเวณเหนือคิ้วประมาณ 2.5 เซนติเมตร ซึ่งขนาดศีรษะที่ได้จะช่วยให้เราเลือกขนาดของหมวกกันน็อกได้

เอาจริง ๆ พี่เซฟว่าการวัดศีรษะก่อนซื้อนี่เป็นหนึ่งในเรื่องที่หลาย ๆ คนมองข้ามกันเยอะมาก เพราะมันไม่ใช่แค่ว่าซื้อ ๆ หมวกมาใส่ก็กันกระแทกได้หมด แต่การได้หมวกกันน็อกที่พอดีกับศีรษะ จะช่วยเรื่องเราเรื่องความกระชับขณะสวมใส่ ทำให้การขับขี่มีความมั่นใจมากขึ้น จนไปถึงตอนเกิดอุบัติเหตุที่ลดเปอร์เซ็นต์การหลุดจากศีรษะของหมวกได้อีก ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลเป็นการช่วยเรื่องสมรรถภาพการขับขี่นั่นเอง

2. อย่าลืมสายรัดคาง

อันนี้พี่เซฟเชื่อว่าหลายคนก็จะเคยมีประสบการณ์นั่งรถวินมอเตอร์ไซค์ เวลาพี่วินยื่นหมวกกันน็อกผู้โดยสารให้เรา แล้วพบว่าสายรัดคางคือสภาพแย่มากหรือไม่มีสายเลยก็มี แถมบิดบนท้องถนนจำนวนมากสวมหมวกกันน็อกแบบไม่ใช่สายรัดคางแบบเยอะมาก ๆ ซึ่งนี่คือเรื่องเสี่ยงและอันตรายสุด ๆ โดยเฉพาะเวลาเกิดอุบัติเหตุ เพราะหมวกกันน็อกของทุกคนสามารถหลุดออกจากศีรษะได้แบบดื้อ ๆ (ต่อให้หมวกที่เราสวมพอดีกับศีรษะแล้วก็ตามนะ) เพราะไม่ใช่สายรัดคางนี่แหละ

พี่เซฟอยากบอกว่าสายรัดคางนี่คือของโคตรสำคัญ เหมือนเป็นชิ้นส่วนสุดท้ายที่ทำให้หมวกกันน็อกทำงานได้เต็มประสิทธิภาพที่ทุกคนมองข้าม เพียงเพราะว่าไม่อยากเสียเวลาใส่มัน ซึ่งไม่เรารัดคางปุ๊ป ก็เหมือนเราไปลดคุณภาพของหมวกกันน็อกตัวเองไปโดยปริยายเลย

3. สวมแล้วต้องได้ยินเสียงด้วย

อันนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับคนที่ชอบหมวกกันน็อกแบบเต็มหน้าสักหน่อย ด้วยสมัยนี้หมวกประเภทนี้ค่อนข้างเป็นที่นิยม เพราะนอกจะเท่ถูกใจวัยรุ่นแล้ว ยังมีคุณภาพเรื่องการปกป้องศีรษะจากอุบัติเหตุได้สูง เพราะหมวกนั้นปกคลุมกระโหลกศีรษะแทบจะ 100% แต่การปิดหมดขนาดนี้ก็มีความเสี่ยงเรื่องของเสียงตามมา เพราะถ้าเราสวมหมวกเต็มใบที่มีขนาดเล็กหรือบีบรัดศีรษะจนเกินไป มันมีโอกาสที่จะไปกั้นการได้ยินของหูเราจะเสียงต่าง ๆ รอบทิศขณะขับขี่บนท้องถนนได้ เพราะเสียงเป็นอีกปัจจัยสำคัญมากต่อการใช้รถใช้ถนนพอ ๆ กับตาเลยนะ

4. ใช้หมวกถูกกฎหมาย

น้อง ๆ ฟังแล้วอาจจะงง ๆ ว่าแค่มีสวมหมวกกันน็อกให้ถูกวิธีก็น่าจะพอแล้วไม่ใช่เหรอ แต่พี่เซฟอยากบอกว่าในหมวกกันน็อกมันเป็นเรื่องของกฎหมายด้วย ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ระบุเอาไว้ถึงหมวกกันน็อกที่ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนี้

1) หมวกนิรภัยแบบปิดเต็มหน้า  หมายความว่า หมวกนิรภัยที่เปลือกหมวกเป็นรูปทรงกลมปิดด้านข้าง ด้านหลัง ขากรรไกร และคาง ในกรณีที่มีบังลม บังลมต้องทำจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี

2) หมวกนิรภัยแบบเต็มใบ  หมายความว่า หมวกนิรภัยที่เปลือกหมวกเป็นรูปทรงกลมปิดด้านข้าง และด้านหลังเสมอแนวขากรรไกรและต้นคอด้านหลัง ด้านหน้าเปิดเหนือคิ้วลงมาตลอดถึงปลายคาง ในกรณีที่มีบังลม บังลมต้องทำจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี

3) หมวกนิรภัยแบบครึ่งใบ  หมายความว่า หมวกนิรภัยที่เปลือกหมวกเป็นรูปครึ่งทรงกลมปิดด้านข้างและด้านหลังเสมอระดับหู ในกรณีที่มีบังลม บังลมต้องทำจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี

หมวกนิรภัยให้ใช้ได้ 3 แบบ  คือ  หมวกนิรภัยแบบปิดเต็มหน้า  แบบเต็มใบ  และแบบครึ่งใบ

กรณีที่มีการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับหมวกนิรภัยแบบใดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้ว หมวกนิรภัยที่จะใช้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน….

ขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ ผู้ขับขี่และคนโดยสารฯ จะต้องรัดคางด้วยสายรัดคาง หรือเข็มขัดรัดคาง…..

แปลว่า หมวกกันน็อกในท้องตลาดได้รับการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) มีการรัดคาง และอยู่ในหมวก 3 แบบที่กล่าวไว้ (หมวกครึ่งใบ เต็มใบเปิดหน้า เต็มใบปิดหน้า) ก็ถือว่าถูกฎหมาย หมวกนิรภัยอื่น ๆ นอกจากนี้ เอามาสวมแทนหมวกกันน็อกแล้วขับขี่บนท้องถนนไม่ว่ากรณีไหน ถือว่าผิดกฎหมายน้า

ที่มา:

ติดตามโซเชียลของเราได้ที่

© Copyright 2022 Safe Education Thailand. All rights reserved.